Table of Contents

บทความที่เกี่ยวข้อง

อาหารหลักหมู่ที่ 5

อาหารหลักหมู่ที่ 5 ได้แก่ พวกไขมันและน้ำมันพืชต่างๆ เช่น น้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว นอกจากนี้ยังมีแทรกอยู่ในอาหารประเภทอื่นๆเช่น ถั่วลิสงแห้งจะมีไขมันสูงมาก เนื้อสัตว์แทบทุกชนิดมีไขมันแทรกอยู่ ไขมันและน้ำมันทุกชนิดให้คุณค่าทางโภชนาการเหมือนกัน เราจึงนิยมใช้ไขมันประกอบอาหารหลายอย่างเพื่อช่วยให้อาหารมีรสชาติดีขึ้น อาหารหลักหมู่ที่ 5 ไขมัน

Read More »

อาหารหลักหมู่ที่ 4

อาหารหลักหมู่ที่ 4 อาหารประเภทนี้ประกอบไปด้วยผลไม้ชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น กล้วย ส้ม มะละกอ แอปเปิล ลำไย มังคุด และอื่นๆ ซึ่งผลไม้เหล่านี้จะให้สารอาหารประเภทวิตามินและเกลือแร่ ซึ่งเป็นสารที่จะช่วยทำให้ร่างกายของคนเรามีความแข็งแรงพร้อมทั้งมีแรงในการต้านทานโรค แถมยังมีกากใยอาหารที่ช่วยทำให้การขับถ่ายของลำไส้เป็นไปตามปกติอีกด้วย ประโยชน์ของ

Read More »

อาหารหลักหมู่ที่ 3

อาหารหลักหมู่ที่ 3  อาหารประเภทผักสดสีเขียว สีเหลืองและผักชนิดต่างๆ อาหารหลักหมู่ที่ 3 ผักสดชนิดต่างๆที่บริโภคเป็นประจำ มีทั้ง ชนิดใบ ดอก ผล ต้นและหัว เป็นต้น เช่น ถั่วฝักยาว

Read More »

อาหารหลักหมู่ที่ 1

อาหารหลักหมู่ที่ 1 คือ อาหารประเภทเนื้อสัตว์ นม ไข่และถั่วเมล็ดแห้ง อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ หมายถึง เมื้อสัตว์ทุกชนิดรวมทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ เช่น เนื้อหมู ไก่ เป็ด ปลา ปู หอย กุ้ง กบ เป็นต้น อาหารหมู่1 อาหารจำพวกนม รวมทั้งน้ำนมจากสัตว์ทุกชนิดที่เราใช้เป็นอาหาร ไม่ว่าจะเป็นรูปนมสด นมผงหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆจากนม อาหารจำพวกไข่ เช่น ไข่เป็ด ไข่ไก่ ไข่จาระเม็ด ไข่นกกระทา ไข่นกพิราบ อาหารจำพวกถั่วต่างๆและผลิตผลจากถั่ว ได้แก่ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วแระ ถั่วดำ ถั่วลิสง ผลิตผลที่ได้จากถั่ว เช่น เต้าหู้ นมถั่วเหลือง

ประโยชน์ของ อาหารหลักหมู่ที่ 1

  1. อาหารหลักหมู่ที่ 1 ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต เช่น ช่วยสร้างเซลและเนื้อเยื่อต่างๆรวมทั้งซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของอวัยวะต่างๆ
  2. เป้นส่วนประกอบของสารเคมีที่ให้อำนาจในการต้านทานโรค
  3. ให้พลังงาน ในกรณีที่ได้รับคาร์โบไฮเดรทไม่เพียงพอ โปรตีน 1 กรัมให้พลังงาน 4 แคลอรี่
  4. เป็นส่วนประกอบของสารเอ็นไซม์และฮอโมน เพื่อควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ เช่น การย่อย การหายใจ การดูดซึม

ให้สารอาหารประเภท โปรตีน

โปรตีนเป็นสารอาหารชนิดหนึ่งที่ร่างกายขาดไม่ได้ อาหารหลัก หมู่ที่ 1 ถ้านำเอาโปรตีนมาวิเคราะห์ทางเคมี จะพบว่าประกอบด้วยสารเคมีจำพวกหนึ่งเรียกว่า กรดอะมิโน (amino acid) ซึ่งแบ่งได้เป็น ๒ พวก คือ

  1. กรดอะมิโนจำเป็น เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายสร้างไม่ได้ ต้องได้จากอาหารที่กินเข้าไปเท่านั้น กรดอะมิโนที่อยู่ในกลุ่มนี้มีอยู่ ๙ตัว คือ ฮิสติดีน (histidine) ไอโซลิวซีน (isoleucine) ลิวซีน (leucine) ไลซีน (lysine) เมไทโอนีน (methionine) เฟนิลอะลานีน (phenylalanine) ทรีโอนีน (threonine) ทริปโตเฟน (tryptophan) และวาลีน (valine)
  2. กรดอะมิโนไม่จำเป็น เป็นกรดอะมิโนที่นอกจากได้จากอาหารแล้ว ร่างกายยังสามารถสร้างได้ เช่น อะลานีน (alanine) อาร์จินีน (arginine) ซีสเตอีน (cysteine) โปรลีน (proline) และไทโรซีน (tyrosine) เป็นต้น เมื่อโปรตีนเข้าสู่ลำไส้ น้ำย่อยจากตับอ่อนและลำไส้จะย่อยโปรตีนจนเป็นกรดอะมิโนซึ่งดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย

ร่างกายนำเอากรดอะมิโนเหล่านี้ไปสร้างเป็นโปรตีนมากมายหลายชนิด โปรตีนแต่ละชนิดมีส่วนประกอบและการเรียงตัวของกรดอะมิโนแตกต่างกันไป

หน้าที่ของโปรตีน

โปรตีนมีบทบาทสำคัญต่อร่างกายอยู่ ๖ ประการ คือ

  1. เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตไขมันและคาร์โบไฮเดรตไม่สามารถทดแทนโปรตีนได้เพราะไม่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ
  2. เมื่อเติบโตขึ้น ร่างกายยังต้องการโปรตีนเพื่อนำไปซ่อมแซมเนื้อเยื่อต่างๆที่สึกหรอไปทุกวัน
  3. ช่วยรักษาดุลน้ำ โปรตีนที่มีอยู่ในเซลล์และหลอดเลือด ช่วยรักษาปริมาณน้ำในเซลล์ และหลอดเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอเหมาะ ถ้าร่างกายขาดโปรตีน น้ำจะเล็ดลอดออกจากเซลล์และหลอดเลือดเกิดอาการบวม
  4. กรดอะมิโนส่วนหนึ่งถูกนำไปสร้างเป็นฮอร์โมน เอนไซม์ สารภูมิคุ้มกัน และโปรตีนชนิดต่างๆ ซึ่งแต่ละตัวมีหน้าที่แตกต่างกันไป และมีส่วนทำให้ปฏิกิริยาต่างๆ ในร่างกายดำเนินต่อไปได้ตามปกติ
  5. รักษาดุลกรด-ด่างของร่างกาย เนื่องจากกรดอะมิโนมีหน่วยคาร์บอกซีล (carboxyl) ซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรด และหน่วยอะมิโนมีฤทธิ์เป็นด่าง โปรตีนจึงมีสมบัติรักษาดุลกรด-ด่าง ซึ่งมีความสำคัญต่อปฏิกิริยาต่างๆภายในร่างกาย
  6. ให้กำลังงาน โปรตีน ๑ กรัมให้กำลังงาน ๔ กิโลแคลอรี อย่างไรก็ตาม ถ้าร่างกายได้กำลังงานจากคาร์โบไฮเดรตและไขมันเพียงพอ จะสงวนโปรตีนไว้ใช้ในหน้าที่อื่น

ปริมาณที่ร่างกายควรได้รับใน 1 วัน

คนเราต้องการโปรตีนในแต่ละวันมากน้อยเพียงใด ขึ้นกับปัจจัย ๒ ประการ คือ อาหารที่กินมีปริมาณและคุณภาพของโปรตีนอย่างไร และตัวผู้กินอายุเท่าไร ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรอยู่หรือเปล่า ตลอดจนมีอาการเจ็บป่วยอยู่หรือไม่ ความต้องการของโปรตีนลดลงตามอายุ เมื่อแรกเกิดเด็กต้องการโปรตีนวันละประมาณ ๒.๒ กรัมต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม ความต้องการดังกล่าวนี้ลดลงเรื่อยๆ จนกระทั่งตั้งแต่อายุ ๑๙ ปีขึ้นไป ต้องการโปรตีนเพียง ๐.๘ กรัมต่อน้ำหนักตัว ๑ กิโลกรัมต่อวัน ที่เป็นเช่นนี้เพราะเด็กต้องการโปรตีนไปสร้างเนื้อเยื่อต่างๆในการเจริญเติบโต ส่วนผู้ใหญ่แม้ว่าการเจริญเติบโตหยุดแล้ว แต่ยังต้องการโปรตีนไว้ซ่อมแซมส่วนต่างๆ ที่สึกหรอไป ส่วนหญิงตั้งครรภ์ต้องการโปรตีนเพิ่มขึ้นอีกวันละ ๓๐ กรัม เพื่อนำไปใช้สำหรับแม่และลูกในครรภ์ แม่ที่ให้นมลูกต้องกินโปรตีนเพิ่มอีกวันละ ๒๐ กรัม เพราะการสร้างน้ำนมต้องอาศัยโปรตีนจากอาหาร อาหารหลักหมู่ที่ 1

บทความที่น่าสนใจ