Table of Contents

บทความที่เกี่ยวข้อง

พีระมิด อาหาร 5 หมู่

พีระมิด อาหาร 5 หมู่ เมื่อเอ่ยถึงคำว่า “พีระมิดอาหาร” หลายๆ คนอาจร้องอ๋อ เพราะพีระมิดอาหารไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร แต่เพื่อไม่ให้เราละเลยกับอาหารการกินในแต่ละวัน โกเด้นท์จึงนำข้อมูลเก่า(สำหรับใครหลายๆ คน) มาเล่าใหม่ เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงการรับประทานอาหารอย่างเหมาะสมกัน ชั้นที่

Read More »

อาหาร 5 หมู่ ประโยชน์

อาหาร 5 หมู่ ประโยชน์ การที่เราจะมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง สมบูรณ์นั้น ควรเลือกรับประทานอาหารต่อวันให้ครบทั้ง 5 หมู่ และมีสัดส่วนความสำคัญต่อร่างกาย การรับประทานอาหารจะต้องมีความหลากหลาย ไม่มีอาหารชนิดใดที่ให้สารอาหารครบทั้งหมด แต่จะมีสารอาหารมาก-น้อยต่างกันในแต่ละชนิด การรับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่เป็นทางเลือกที่สำคัญ ลองมาดูกันซิว่าอาหาร

Read More »

ธง โภชนาการ อาหาร 5 หมู่

ธง โภชนาการ อาหาร 5 หมู่ การจำแนกอาหารเป็น 5 หมู่หรือ 5 กลุ่มอาหารนั้น เป็นข้อมูลให้ผู้บริโภคสามารถเลือกบริโภคอาหารอย่างหลากหลาย ครบหมู่ อย่างไรก็ตามนอกจากการบริโภคให้ครบทุกหมู่แล้ว ปริมาณการบริโภคอาหารในแต่ละหมู่ก็มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อภาวะโภชนาการ ต่อมาจึงมีความพยายามในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสัดส่วนอาหารที่ควรบริโภค

Read More »

อาหารหลักหมู่ที่ 2

อาหารหลักหมู่ที่ 2 คือ อาหารประเภทข้าว แป้ง น้ำตาล และพืชจำพวกหัว เช่น เผือก มัน อาหารจำพวกข้าว เช่น ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวโพด ข้าวสาลี ข้าวฟ่าง อาหารจำพวกแป้ง เช่น แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว แป้งข้าวโพด แป้งสาลี แป้งมัีนสำปะหลัง รวมทั้งขนมปัง ขนมจีน เส้นก๋วยเตี๋ยว อาหารจำพวกน้ำตาล เช่น น้ำตาลทราบ น้ำตาลมะพร้าว น้ำตาลอ้อย และขนมหวานต่าง ๆ

ประโยชน์ของ อาหารหลักหมู่ที่ 2

  1. อาหารหลักหมู่ที่ 2 ให้พลังงานแก่ร่างกาย ให้ความอบอุ่นทำให้ร่างกายสามารถประกอบกิจกรรมต่างๆได้ดี
  2. เกี่ยวกับการย่อย การดูดซึม การที่จะใช้ประโยชน์ได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอำนวจการละลายของสารในร่างกาย

ให้สารอาหารประเภท คาร์โบไฮเดรต

คาร์โบไฮเดรต จัดเป็นสารอาหารชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน ในแต่ละโมเลกุลของคาร์โบไฮเดรตมีไฮโดรเจนและออกซิเจนอยู่ในอัตราส่วนสองต่อหนึ่ง สูตรทั่วไปของคาร์โบไฮเดรตคือCnH2n On คาร์โบไฮเดรตแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ

  1. โมโนแซ็กคาไรด์ (monosaccharide) เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลเล็กที่สุด เมื่อกินแล้วจะดูดซึมจากลำไส้ได้เลย ไม่ต้องผ่านการย่อย ตัวอย่างของน้ำตาลประเภทนี้ได้แก่ กลูโคส (glucose) และฟรักโทส (fructose) ทั้งกลูโคสและฟรักโทสเป็นน้ำตาลที่พบได้ในผัก ผลไม้ และน้ำผึ้ง น้ำตาลส่วนใหญ่ที่พบในเลือด คือ กลูโคส ซึ่งเป็นตัวให้กำลังงานที่สำคัญ อาหาร หมู่ ที่ 2 มี อะไร บ้าง
  2. ไดแซ็กคาไรด์ (disaccharide) เป็นคาร์โบไฮเดรตที่ประกอบด้วยโมโนแซ็กคาไรด์ ๒ ตัวมารวมกันอยู่ เมื่อกินไดแซ็กคาไรด์เข้าไป น้ำย่อยในลำไส้เล็กจะย่อยออกเป็นโมโนแซ็กคาไรด์ก่อน ร่างกายจึงสามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ได้ไดแซ็กคาไรด์ที่สำคัญทางด้านอาหาร คือ แล็กโทส (lactose) และซูโครส (sucrose) แล็กโทสเป็นน้ำตาลที่พบในน้ำนม แต่ละโมเลกุลประกอบด้วยกลูโคส และกาแล็กโทส (galactose) ส่วนน้ำตาลทรายหรือซูโครสนั้น พบอยู่ในอ้อยและหัวบีต แต่ละโมเลกุล ประกอบด้วย กลูโคสและฟรักโทส
  3. พอลีแซ็กคาไรด์ (polysaccharide) เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่ และมีสูตรโครงสร้างซับซ้อน ประกอบด้วยโมโนแซ็กคาไรด์จำนวนมากมารวมตัวกันอยู่ พอลีแซ็กคาไรด์ที่สำคัญทางอาหาร ได้แก่ ไกลโคเจน (glycogen) แป้ง (starch) และเซลลูโลส (cellulose) ไกลโคเจนพบในอาหารพวกเนื้อสัตว์และเครื่องในสัตว์ ส่วนแป้งและเซลลูโลสพบในพืช แม้ว่าไกลโคเจน แป้ง และเซลลูโลสประกอบด้วยกลูโคสเหมือนกัน แต่ลักษณะการเรียงตัวของกลูโคสต่างกันทำให้ลักษณะสูตรโครงสร้างต่างกันไป เฉพาะไกลโคเจนและแป้งเท่านั้นที่น้ำย่อยในลำไส้สามารถย่อยได้ น้ำตาลประเภทโมโนแซ็กคาไรด์และไดแซ็กคาไรด์เป็นน้ำตาลที่มีรสหวาน แต่มีรสหวานไม่เท่ากันน้ำตาลฟรักโทส กลูโคส และแล็กโทสมีความหวานเป็นร้อยละ ๑๑๐, ๖๑ และ ๑๖ ของน้ำตาลทรายตามลำดับ

หน้าที่ของคาร์โบไฮเดรต

คาร์โบไฮเดรตมีบทบาทสำคัญต่อร่างกายดังนี้

  1. ให้กำลังงาน ๑ กรัมของคาร์โบไฮเดรตให้ ๔ กิโลแคลอรี คาร์โบไฮเดรตเป็นสารอาหารที่ให้กำลังงาน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ ของแคลอรีทั้งหมดที่ได้รับในแต่ละวัน ชาวไทยในชนบทบางแห่งได้กำลังงานจากคาร์โบไฮเดรตถึงร้อยละ ๘๐
  2. สงวนคุณค่าของโปรตีนไว้ไม่ให้เผาผลาญเป็นกำลังงาน ถ้าได้กำลังงานจากคาร์โบไฮเดรตเพียงพอ
  3. จำเป็นต่อการเผาผลาญไขมันในร่างกายให้เป็นไปตามปกติ ถ้าหากร่างกายได้คาร์โบไฮเดรตไม่พอจะ เผาผลาญไขมันเป็นกำลังงานมากขึ้น เกิดสารประเภทคีโทน (ketone bodies) คั่ง อาหารหลักหมู่ที่2 ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้
  4. กรดกลูคูโรนิก (glucuronic acid) ซึ่งเป็นสารอนุพันธุ์ของกลูโคส ทำหน้าที่เปลี่ยนสารพิษที่เข้าสู่ร่างกายเมื่อผ่านไปที่ตับให้มีพิษลดลง และอยู่ในสภาพที่ขับถ่ายออกได้
  5. การทำงานของสมองต้องพึ่งกลูโคสเป็นตัวให้กำลังงานที่สำคัญ
  6. อาหารคาร์โบไฮเดรตพวกธัญพืช เป็นแหล่งให้โปรตีน วิตามิน และเกลือแร่ด้วย

ปริมาณที่ร่างกายควรได้รับใน 1 วัน

ความต้องการของอาหารหมู่นี้ขึ้นอยู่กับการประกอบกิจกรรมของบุคคลผู้ที่ต้องออกแรงมาก ผู้ที่ออกแรงน้อยก็ต้องการน้อย นอกจากนี้ ความต้องการยังขึ้นอยู่กับวัย เพศ และขนาดของร่างกาย เช่น เด็กผู้ชายต้องการอาหารมากกว่าเด็กผู้หญิง ้เด็กโตต้องการอาหารมากกว่าเด็กเล็ก นักกีฬาต้องการอาหารมากกว่าผู้ที่ไม่ได้เล่นกีฬา สำหรับผู้ใหญ่อย่างน้อยควรได้รับร้อยละ 50 – 70 ของพลังงานที่ต้องการ เพราะฉะนั้นการจัดอาหารจึงต้องคำนึงถึงสิ่งที่กล่าวมาด้วย อาหารหลักหมู่ที่ 2

บทความที่น่าสนใจ