Table of Contents

บทความที่เกี่ยวข้อง

พีระมิด อาหาร 5 หมู่

พีระมิด อาหาร 5 หมู่ เมื่อเอ่ยถึงคำว่า “พีระมิดอาหาร” หลายๆ คนอาจร้องอ๋อ เพราะพีระมิดอาหารไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร แต่เพื่อไม่ให้เราละเลยกับอาหารการกินในแต่ละวัน โกเด้นท์จึงนำข้อมูลเก่า(สำหรับใครหลายๆ คน) มาเล่าใหม่ เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงการรับประทานอาหารอย่างเหมาะสมกัน ชั้นที่

Read More »

อาหาร 5 หมู่ ประโยชน์

อาหาร 5 หมู่ ประโยชน์ การที่เราจะมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง สมบูรณ์นั้น ควรเลือกรับประทานอาหารต่อวันให้ครบทั้ง 5 หมู่ และมีสัดส่วนความสำคัญต่อร่างกาย การรับประทานอาหารจะต้องมีความหลากหลาย ไม่มีอาหารชนิดใดที่ให้สารอาหารครบทั้งหมด แต่จะมีสารอาหารมาก-น้อยต่างกันในแต่ละชนิด การรับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่เป็นทางเลือกที่สำคัญ ลองมาดูกันซิว่าอาหาร

Read More »

ธง โภชนาการ อาหาร 5 หมู่

ธง โภชนาการ อาหาร 5 หมู่ การจำแนกอาหารเป็น 5 หมู่หรือ 5 กลุ่มอาหารนั้น เป็นข้อมูลให้ผู้บริโภคสามารถเลือกบริโภคอาหารอย่างหลากหลาย ครบหมู่ อย่างไรก็ตามนอกจากการบริโภคให้ครบทุกหมู่แล้ว ปริมาณการบริโภคอาหารในแต่ละหมู่ก็มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อภาวะโภชนาการ ต่อมาจึงมีความพยายามในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสัดส่วนอาหารที่ควรบริโภค

Read More »

อาหารหลักหมู่ที่ 4

อาหารหลักหมู่ที่ 4 อาหารประเภทนี้ประกอบไปด้วยผลไม้ชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น กล้วย ส้ม มะละกอ แอปเปิล ลำไย มังคุด และอื่นๆ ซึ่งผลไม้เหล่านี้จะให้สารอาหารประเภทวิตามินและเกลือแร่ ซึ่งเป็นสารที่จะช่วยทำให้ร่างกายของคนเรามีความแข็งแรงพร้อมทั้งมีแรงในการต้านทานโรค แถมยังมีกากใยอาหารที่ช่วยทำให้การขับถ่ายของลำไส้เป็นไปตามปกติอีกด้วย

ประโยชน์ของ อาหารหลักหมู่ที่ 4

  1. น้ำตาลในผลไม้ช่วยให้หายเหนื่อยเร็ว อาหารหลักหมู่ที่ 4
  2. วิตะมินซีที่ได้รับจากผลไม้้ช่วยต้านทานโรค ทำให้แผลหายเร็วและป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน
  3. ช่วยควบคุมความเป็นกรด – ด่างในร่างกาย เพราะ โพแทสเซียม คลอรีน ฟอสฟอรัส และโซเดียม มีหน้าที่สำคัญในการช่วยควบคุมความเป็นกรด – ด่างในร่างกาย
  4. ช่วยควบคุมสมดุลน้ำ เนื่องจากโพแทสเซียมและโซเดียมมีส่วนช่วยในการควบคุมความสมดุลของน้ำทั้งที่อยู่ภายในและภายนอกเซลล์
  5. มีส่วนช่วยในการเร่งปฏิกิริยา เนื่องจากปฏิกิริยาหลายชนิดที่อยู่ในร่างกายจะดำเนินไปได้นั้น ต้องมีเกลือแร่เป็นตัวเร่ง เช่น แมกนีเซียม ถือเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีความเกี่ยวข้องกับการเผาผลาญกลูโคสให้เกิดพลังงาน

อาหารหมู่นี่มีสารอาหารประเภทวิตามินและเกลือแร่อยู่เป็นจำนวนมากเช่นเดียวกับอาหารหมู่ที่ 3 และจะมีสารอาหารพวกคาร์โบไฮเดรทมากด้วย

ถ้าร่างกายขาดวิตามินจากผลไม้จะมีผลอย่างไร

มีประโยชน์เช่นเดียวกับวิตามินในพืชผักและมีความจำเป็นต่อร่างกายเป็นอย่างมากเช่นกัน ซึ่งพบว่าหากขาดวิตามินเหล่านี้ไปก็จะส่งผลกระทบต่อร่างกายได้ดังนี้ ทำให้ระบบภูมิต้านทานต่ำลง และเกิดการเจ็บป่วยได้ง่ายหรือมีสุขภาพที่อ่อนแอลงอย่างเห็นได้ชัด มักจะมีอาการท้องผูกบ่อยๆ รวมถึงทำให้ระบบการขับถ่ายแปรปรวนได้ เพราะได้รับใยอาหารที่มีในผลไม้น้อยเกินไป เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกอ่อนหรือกระดูกพรุน เนื่องจากขาดวิตามินและแร่ธาตุสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูกนั่นเอง อาจมีปัญหาตาฝ้าฟางและระบบประสาทผิดปกติ

ให้สารอาหารประเภท เกลือแร่

เกลือแร่ เป็นกลุ่มของสารอนินทรีย์ที่ร่างกายขาดไม่ได้ มีการแบ่งเกลือแร่ที่คนต้องการออกเป็น ๒ ประเภท คือ

  1. เกลือแร่ที่คนต้องการในขนาดมากกว่าวันละ ๑๐๐ มิลลิกรัม ได้แก่ แคลเซียม ฟอสฟอรัส โซเดียม โพแทสเซียม คลอรีน แมกนีเซียม และกำมะถัน
  2. เกลือแร่ที่คนต้องการในขนาดวันละ ๒-๓ มิลลิกรัม ได้แก่ เหล็ก ทองแดง โคบอลต์ สังกะสี แมงกานีส ไอโอดีน โมลิบดีนัม ซีลีเนียม ฟลูออรีนและโครเมียม

หน้าที่ของเกลือแร่

ร่างกายมีเกลือแร่เป็นส่วนประกอบอยู่ประมาณร้อยละ ๔ ของน้ำหนักตัว เกลือแร่แต่ละชนิดมีหน้าที่เฉพาะของตัวเอง อย่างไรก็ตาม

หน้าที่โดยทั่วไปของเกลือแร่มีอยู่ ๕ ประการ คือ

  1. เป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อ เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส และแมกนีเซียม เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกระดูกและฟัน ทำให้กระดูกและฟันมีลักษณะแข็ง
  2. เป็นส่วนประกอบของโปรตีน ฮอร์โมนและเอนไซม์ เช่น เหล็ก เป็นส่วนประกอบของโปรตีนชนิดหนึ่ง เรียกว่า เฮโมโกลบิน (hemoglobin) ซึ่งจำเป็นต่อการขนถ่ายออกซิเจนแก่เนื้อเยื่อต่างๆ ทองแดงเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ ซึ่งจำเป็นต่อการหายใจของเซลล์ไอโอดีนเป็นส่วนประกอบของฮอร์โมนไทรอกซีน ซึ่งจำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย ถ้าหากร่างกายขาดเกลือแร่เหล่านี้ จะมีผลกระทบต่อการทำงานของโปรตีน ฮอร์โมน และเอนไซม์ที่มีเกลือแร่เป็นองค์ประกอบ
  3. ควบคุมความเป็นกรด-ด่างของร่างกาย โซเดียม โพแทสเซียม คลอรีน และฟอสฟอรัส ทำหน้าที่สำคัญในการควบคุมความเป็นกรด-ด่างของร่างกาย เพื่อให้มีชีวิตอยู่ได้
  4. ควบคุมดุลน้ำ โซเดียม และโพแทสเซียมมีส่วนช่วยในการควบคุมความสมดุลของน้ำภายในและภายนอกเซลล์
  5. เร่งปฏิกิริยา ปฏิกิริยาหลายชนิดในร่างกายจะดำเนินไปได้ ต้องมีเกลือแร่เป็นตัวเร่ง เช่น แมกนีเซียม เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่เกี่ยวกับการเผาผลาญกลูโคสให้เกิดกำลังงาน อาหารหลักหมู่ที่ 4

บทความที่น่าสนใจ